SATI ชู Chat Sum ตัวช่วย รพ.-แพทย์ ลดงานยุ่งยากซับซ้อน

• SATI (สาติ) สตาร์ตอัพด้านการแพทย์ พัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ด้วย AI ชี้จุดเด่น ลดภาระงานที่ยุ่งยากซับซ้อน แก้ไขปัญหาการเบิกจ่ายทางการแพทย์
• นำ AI มาเป็นตัวช่วยในการแปลงรหัส ICDs และการเก็บข้อมูล Big Data เชื่อมโยงสิทธิสวัสดิการอื่นๆ ทั้งประกันสังคม ประกันชีวิต ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• และอีกข้อสำคัญ ยังเป็นตัวช่วยแพทย์ลดระยะเวลา ‘การสรุปชาร์ต’ เพิ่มเวลาตรวจ-ดูแลคนไข้มากขึ้น

รู้หรือไม่? งานในโรงพยาบาลยุ่งยากซับซ้อนมากกว่าที่บุคคลภายนอกจะเข้าใจ !!! เพราะในขณะที่แพทย์ตรวจคนไข้ ก็ต้องมีเทคโนโลยีมาเป็นตัวช่วย มีงานต้องสรุป เพื่อทุกฝ่ายงานรับรู้และเข้าใจที่ตรงกัน เช่นเดียวกับงานส่วนอื่นๆ ที่แต่ละฝ่ายล้วนต้องประสานกับอีกหลายส่วนทั้งภายในภายนอก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเบิกจ่าย สิทธิสวัสดิการของคนไข้ซึ่งแต่ละคนที่ล้วนมีสถานะ-รายละเอียดแตกต่างกัน ซึ่งข้อมูลต่างๆ ที่ถาโถมเข้าไปยังโรงพยาบาลจากการที่แต่ละคนต้องพาตัวเองเข้าไปรักษา ก็ทำให้ขนาดของข้อมูลในโรงพยาบาลมีความใหญ่ เป็น Big Data มากขึ้นทุกวัน อีกด้าน แพทย์และบุคลากรต้องดึงข้อมูลใช้อย่างต่อเนื่อง เรื่องเทคโนโลยีเพื่อความเสถียร และตอบโจทย์ได้อย่างตรงจุด จึงจำเป็นมากๆ

ด้วยเหตุนี้ สตาร์ตอัพด้านการแพทย์และเทคโนโลยี ที่ชื่อ SATI (สาติ) จึงถือกำเนิดเกิดขึ้น เมื่อปี 2565 โดยมีผู้ก่อตั้ง คือ นพ.รพีพัฒน์ ศรีจันทร์ กรรมการบริหารบริษัท สาติ จำกัด ร่วมกับเพื่อน อีก 3 คน คือ นพ.ธนภัทร คหบดีกนกกุล, พญ.แพรลดา วงศ์ศิริเมธีกุล และณชล แป้นคุ้มญาติ มีวัตถุประสงค์หลักคือการพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการแพทย์ นำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ประโยชน์ จัดการข้อมูลมหัต (Big data) เพื่อเสริมสร้างกระบวนการทางการแพทย์ และระบบบริการต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น

ก็เลยพัฒนา Chart Sum ระบบบันทึกสรุปทางการแพทย์รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาแก้ปัญหาด้วยการนำนวัตกรรมจากการใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ควบคู่ไปกับความรู้ของแพทย์ เพื่อทำให้การสรุปชาร์ตมีประสิทธิภาพมากที่สุด อีกทั้งลดระยะเวลาที่แพทย์ต้องสรุปชาร์ตเพื่อเพิ่มเวลาในการตรวจรักษาคนไข้มากขึ้น

ทั้งนี้ ที่มาที่ไปของการต้องจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ของโรงพยาบาล ก็เป็นเพราะมีข้อมูลหลายส่วน ที่ไม่ควรทำงานพลาด ประกอบด้วย ข้อมูลผู้ป่วย เวชระเบียน สิทธิ์สวัสดิการ ข้อมูลทางคลินิก การบันทึกข้อมูลสำคัญจากแพทย์ ข้อมูลการเงิน ข้อมูลอุปกรณ์ทางการแพทย์ และอื่นๆ ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้มีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกวัน จากจำนวนคนไข้ที่เข้าไปรับการรักษา ระบบจึงมีการอัพเดตข้อมูลแบบเรียลไทม์ ซึ่งหากระบบหรือการวิเคราะห์ข้อมูลไม่ดี ปัญหาใหญ่ก็เกิดขึ้น พราะต้องยอมรับว่า หลายส่วนปฏิบัติการในโรงพยาบาล มีความยุ่งยากซับซ้อน แล้วเทคโนโลยีขั้นสูงที่เหมาะสมกับงานที่ยุ่งยากซับซ้อนเหล่านี้ จะต้องเป็นรูปแบบใดกันเล่า เพื่อที่เวลาแพทย์และบุคลากรส่วนต่างๆ จะดึงข้อมูลมาใช้จะได้อย่างไม่มีปัญหา

ต้องบอกว่า SATI เป็นสตาร์ตอัพที่ ‘ทำได้-ทำถึง’ เพราะสิ่งที่ทำนี้ เกิดจากการเป็นคนวงในที่รู้-เข้าใจโครงสร้างความยุ่งยากซับซ้อนอย่างลึกซึ้ง เกี่ยวกับปัญหาที่บุคลากรทางการแพทย์พบเจอในโรงพยาบาล เมื่อประกอบเข้ากับความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีด้วยแล้ว การจะนำเทคโนโลยีชนิดไหนมาใช้ตอบโจทย์อะไรในปัญหาที่เคยมี ย่อมทำให้ปัญหาได้รับการแก้ไขอย่างตรงจุด โดยเฉพาะเจ้าความยุ่งยากซับซ้อนของระบบบริการต่างๆ

ที่ผ่านมา SATI รู้ดีว่า โรงพยาบาลต้องสูญเสียรายได้จากการเบิกจ่าย และการถูกเรียกเงินคืนจากการลงข้อมูลไม่ครบถ้วน ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาที่หลายโรงพยาบาลกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันเช่นกัน และยังสร้างมูลค่าเสียหายจำนวนมากให้กับทางโรงพยาบาล โดยสาเหตุหนึ่งของการลงข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนนั้น เกิดจากการบันทึกข้อมูลไม่ครบตั้งแต่แพทย์ผู้ให้การรักษาและมีการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงตามเกณฑ์การเบิกจ่าย อีกทั้งยังเกิดจากการทำงานของผู้ให้รหัสโรคที่อาจเกิดความผิดพลาดก่อนส่งเบิกประกันสังคม ประกันสุขภาพ และสวัสดิการข้าราชการได้ ทำให้สถานพยาบาลประสบปัญหาด้านการเงิน และไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการกำหนดนโยบายการทำงานในอนาคตได้

ดังนั้น โซลูชัน Chart Sum ซึ่งมีประสิทธิภาพ ในการสรุปเวชระเบียน แปลงข้อมูลสำหรับการเรียกเก็บเงินและรหัสมาตรฐานทางการแพทย์ จึงเป็นตัวช่วยได้อย่างดี นอกจากนี้ ยังมี Clinsight มาช่วยเปลี่ยนข้อความทางคลินิกในบันทึกทางการแพทย์เป็นข้อมูลโครงสร้าง จุดนี้ก็เป็นการรองรับทั้งสถาบันการแพทย์ และบริษัทประกันภัย ด้วย

ย้อนดู Chart Sum ทำอะไรได้บ้าง?
Chart Sum เป็นโปรแกรมสำหรับการสรุปชาร์ตผู้ป่วยที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรและเติมเต็มความสมบูรณ์ให้เวชระเบียนด้วยระบบ AI เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเบิกจ่าย โดย Chart Sum นี้ จะเป็นระบบที่ช่วยเหลือตั้งแต่ต้นทาง ตั้งแต่การลงรหัสโรคให้เหมาะสมและครบถ้วนตามเกณฑ์ รวมการบันทึกของแพทย์ผ่านการการแนะนำและแจ้งเตือนของระบบ ซึ่งมาจากการนำข้อมูลจากฐานข้อมูลของโรงพยาบาลจากส่วนต่าง ๆ ได้แก่ ข้อมูลประวัติ การตรวจร่างกาย ผลเลือด ผลทางห้องปฏิบัติการ รหัสหัตถการ และการสั่งจ่ายยา ต่าง ๆ มาทำงานผ่านระบบบันทึกเวชระเบียนของโรงพยาบาล สรุปข้อมูลให้เรียบร้อย เพื่อส่งต่อให้ Medical Coder ประเมินและยืนยันอีกครั้งก่อนส่งเบิกจ่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่ายของทุกสิทธิการรักษา ลดภาระงานของ Medical Coder และลดอัตราการถูกเรียกเงินคืนจากความผิดพลาดของการลงรหัสโรค

กล่าวได้ว่า Chart Sum มีความแม่นยำสูงในการสรุปเวชระเบียน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร รวมทั้งสามารถติดตามความเคลื่อนไหวด้านการเบิกจ่าย และการทำงานของฝ่ายเวชสถิติ จึงสามารถนำข้อมูลมาช่วยในการวางแผน และตัดสินใจ รวมทั้งนำข้อมูลทางการแพทย์มาวิเคราะห์เพื่อวัดผลสำเร็จในการดำเนินงาน ช่วยประเมินถึงความสามารถในการดำเนินธุรกิจของโรงพยาบาล เพิ่มประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายของทุกสิทธิการรักษา ทำให้รายจ่ายลดลง และลดอัตราการถูกเรียกเงินคืนจากความผิดพลาด

ทั้งนี้ Chart Sum ยังพัฒนาขึ้น เพื่อสอดรับกับมาตรฐานบันทึก Discharge summary ตั้งแต่ MRA, HA, AHA, HAIT และอื่น ๆ พร้อมทั้งฟังก์ชันสนับสนุนการบันทึกอย่าง IMPRESS ReMED, Bill-in, DRG calculator และอื่น ๆ เรียกใช้ข้อมูลและแสดงผลผ่าน Dashboard ช่วยสนับสนุนการวางแผนการตัดสินใจและนโยบายของสถานพยาบาล เสริมสร้างขีดความสามารถในการเรียกเก็บ การเบิกจ่ายและการเบิกเคลม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอัตราการสูญเสียข้อมูลที่สำคัญ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อโรงพยาบาลต่อไปได้

ผู้พัฒนาระบบ ยังตอกย้ำ ความคุ้มค่าหากโรงพยาบาลต่างๆ จะนำ Chart Sum เข้าไปใช้ โดยจะช่วยลดภาระงานทางด้านโครงสร้างข้อมูลที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ได้เป็นอย่างดี และยังสามารถเปิดให้ทดลองใช้ระบบ โดยติดตั้งจริงที่สถานพยาบาล ภายใต้ข้อกำหนดของบริษัทฯ ด้วย

SATI ยังชู Business model ที่ยืดหยุ่น ตอบสนองความต้องการและงบประมาณที่ไม่เหมือนกันของแต่ละโรงพยาบาล ทำให้โรงพยาบาลสามารถเลือกโมเดลการใช้งานที่เหมาะสมกับโครงสร้างพื้นฐานและความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของแต่ละแห่งได้ โดยรองรับทั้ง Software as a service และ API as a service ที่สามารถเชื่อมต่อได้ในรูปแบบ On Cloud และ On-Premise ในอนาคต SATI ยังจะพัฒนาระบบให้มีฟังก์ชันมากขึ้น พร้อมผนึกกำลังพันธมิตร เพื่อตอบโจทย์งานโรงพยาบาลครอบคลุมหลากมิติมากขึ้นต่อไป

ช่องทางการติดต่อ 

SATI: https://www.sati.co.th/ และ https://www.facebook.com/sati.co.ltd

บทความนี้อยู่ภายใต้โครงการ Startup Thailand Connext สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

Shopping Basket