FINDICE Education บอร์ดเกมการเงิน พาเกม??ชีวิต ‘แกร่ง’

• สตาร์ทอัพไทย เก่ง คิดบอร์ดเกมเสริมทักษะการเงิน ปลูกฝังเยาวชน ตั้งแต่ 10 ขวบอัพ
• เผยแนวคิด เพราะต้องการร่วมแก้ปัญหา ‘คนไทยไร้เงินออม’
• ตอกย้ำจุดเด่น เป็นเกมการเงินที่เข้าถึงได้ง่าย เล่นได้ทั้งครอบครัว สนุกสนาน คลายเครียด มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต ‘ระยะยาว’

อิทธิพลของ ‘เกม’ สามารถสร้างจินตนาการไกล เกม ไม่ใช่เรื่อง ‘แค่สนุก’ หากพ่อแม่ผู้ปกครอง ‘รู้จักเลือก’ เกม เป็นทักษะพื้นฐาน สามารถพัฒนาความคิดได้อย่างเป็นระบบ

รู้ไหมว่า ‘ทฤษฎีเกม’ เกิดขึ้น ระหว่างปี 1871-1956 โดยกว่าจะเกิดขึ้นมาได้ เป็นเรื่องยากเย็นแสนเข็ญ … ผู้ริเริ่มก่อกำเนิด เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Émile Borel ซึ่งริเริ่มเปิดตัวทฤษฎีมาในช่วงปี 1871 แต่ยุคนั้นสมัยนั้น ‘ไม่มีใครเชื่อ’ … ต่อมาในปี 1926 John von Neumann (1903-1957) ได้เสนอทฤษฎี minimax ที่ใช้เป็นรากฐานของวิทยาการเรื่องทฤษฎีเกม … ณ จุดนั้น ก็ยัง ‘ไม่มีใครใส่ใจเหลียวแล’ อีก หลายคนยังคงคิดว่า “เกม เป็นเรื่องคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ ที่ใช้คิดเล่นสนุกๆ หาประโยชน์ใดๆ มิได้เลย” 

แต่ von Neumann ไม่ยอมแพ้…และได้ทำการเรียบเรียงตำราคลาสสิก ขึ้นในปี 1944 ชื่อว่า “Theory of Games and Economic Behavior” หรือ ทฤษฎีของเกมและพฤติกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเขียนร่วมกับ Oskar Morgenstern (1902–1977) และมหาวิทยาลัย Princeton แล้วนำออกตีพิมพ์เผยแพร่ วงการเศรษฐศาสตร์จึงเริ่มตื่นตัวในปีนี้นี่เอง พร้อมกับตระหนักในความสำคัญของตำรานี้ ถึงกับได้ขึ้นหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ The New York Times จากนั้นทฤษฎีเกมก็ได้รับการพัฒนาต่อ เพราะต้องอาศัยความรู้ด้านพีชคณิต เรขาคณิต ทฤษฎี set และ topology เข้ามาช่วยด้วย เพื่อนำมาใช้ในการแข่งขันเอาชนะกันในด้านธุรกิจ สงคราม การเมือง เศรษฐศาสตร์ รวมถึงชีววิทยาเชิงวิวัฒนาการ และใช้ในการวิเคราะห์สังคมความเป็นอยู่ของสัตว์และแบคทีเรีย ฯลฯ 

เมื่อกล่าวมาถึงตรงนี้แล้ว ก็พอสรุปได้ว่า ‘เกม’ มีความสำคัญในหลากมิติ  โดยเฉพาะเมื่อต้องจำลองสังคมใดสังคมหนึ่ง บนโลกใบนี้ (เพื่อการทดลอง หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่น) ที่มนุษย์อยากรู้ ซึ่งมันก็คือ เกมๆ หนึ่ง นั่นเอง…นี่แหละ ความยิ่งใหญ่ในซอกมุมเล็กๆ ที่หลายคนอาจรู้แล้ว และอีกหลายคน อาจ ยังไม่เคยรู้มาก่อน!!!

เกม กับการเสริมแกร่งทักษะชีวิต

ว่ามาดังนี้แล้ว ก็อยากกล่าวถึง ‘เกมในประเทศไทย’ โดยสตาร์ทอัพไทย กันบ้าง…ต้องบอกว่า สตาร์ทอัพไทย ก็เก่งไม่แพ้ใคร เพราะล่าสุด สตาร์ทอัพไทย ชื่อ Findice Education สร้างผลงานต่อยอดธุรกิจ บอร์ดเกมเสริมทักษะการเงินให้เยาวชน นับเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงก็ว่าได้ เพราะสามารถช่วยแก้ปัญหา การไม่มีเงินออม ลดความเหลื่อมล้ำ ด้วยการฝึกทักษะการเงินจากบอร์ดเกมตั้งแต่เยาว์วัย นั่นเอง

บอร์ดเกมนี้ พัฒนาโดย กาญจนา อ๊อดทรัพย์ นักวางแผนการเงิน (CFP) ที่มีประสบการณ์ในสายธนาคารมากว่า 10 ปี พ่วงตำแหน่งสำคัญ คือยังเป็น ประธานกรรมการและผู้ก่อตั้ง บริษัท ฟินไดซ์ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด โดยการต่อยอด ‘ธุรกิจบอร์ดเกม’ เพื่อเสริมทักษะการเงิน (Financial Boardgame) ให้เยาวชนนี้ ก็ด้วยวัตถุประสงค์หลัก เพราะอยากช่วยปลูกฝังความรู้ด้านวางแผนการเงินให้กับเด็กๆ และคนไทย โดยจะย่อยเรื่องการเงินออกมาเป็นเกมต่างๆ เมนหลักคือการให้ความรู้เรื่องหนี้ การตัดสินใจซื้อ เงินสำรองฉุกเฉิน เป็นต้น นี่จึงเป็นการฝึกพัฒนาการทางความคิดตั้งแต่วัยเด็ก เน้นการเรียนรู้ผ่านเกมการเงินที่สุกแล้ว เป็นอีกก้าวที่ช่วยเสริมทักษะคณิตศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ ได้อย่างสอดคล้อง เมื่อประกอบเข้ากับการเล่นอย่างมีความสุข ผู้เล่น จึงสามารถปรับประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันได้อย่างไม่ยาก โดยปัจจุบันมีทั้งหมด 5 เกม ประกอบด้วย

1. เกมรู้หน้าไม่รู้หนี้ : Calculate Your Net Worth
2. เกมซื้อฉันเถอะ : Shop Me Please
3. เกมมีฉันไว้อุ่นใจนะ : Risky Lossy
4. เกมหุ้นซิ่ง วิ่งทะลุกระดาน : Trader Hunter
5. เกมแลกไปแลกมา : Trade In Trade Out

ทั้งนี้ เมื่อมีผลงานออกตลาด ก็ได้รับความสนใจมากๆ มีเสียงปรบมือรัวๆ จากพ่อแม่ผู้ปกครองมากมาย แทบ 100% บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า เป็นเกมที่สนุก เล่นได้ทั้งครอบครัว มีข้อแม้นิดเดียวว่า เด็กๆ ที่เล่นจะต้องโตสักนิด เพราะอย่างในครอบครัวหนึ่ง ระบุว่า มีลูก 2 คน แต่ระหว่างที่พี่คนโต เล่นกับคุณพ่อคุณแม่อย่างสนุกสนานนั้น หันไปเจอน้อง ทำคิ้วชนกัน ใบหน้าไม่พอใจสุดเหวี่ยง เนื่องจากอยากสนุกด้วย แต่ก็ฟังเขาไม่รู้เรื่อง…ก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะเกมนี้ถูกระบุตั้งแต่ต้น ว่าเหมาะสมกับเด็กอายุ 10 ปีขึ้นไป ซึ่งจะเข้าใจได้ง่าย แม้ไม่มีพื้นฐานการเงินมาก่อน ส่วนหนูน้อยรายนั้น อายุยังน้อยเกินกว่าจะเข้าใจ อดใจรอหนูโตกว่านี้อีกสักนิด ได้เข้าใจแน่นอน

ปัจจุบันมีการพัฒนาแอปพลิเคชัน Findice สำหรับเล่นคู่กับบอร์ดเกม และยังเล่นพร้อมกันเป็นกลุ่ม ในอนาคตมีแผนขยายฐานลูกค้า B2B โดยเจาะกลุ่มไปที่สถาบันการศึกษาเป็นหลัก

ถือได้ว่า เป็นความฉลาดของสตาร์ทอัพ ที่คิดเรื่องนี้ขึ้นมาได้ เพราะตอบโจทย์สังคม แก้ปัญหาการไม่มีเงินออมในคนไทย ปลูกฝังนิสัยการวางแผนการเงิน พร้อมพัฒนาต่อยอดได้ถึงการทำธุรกิจได้เป็นอย่างดี

Findice กับเป้าหมาย การเงินคนไทย ‘ลดเหลื่อมล้ำ’

ฟินไดซ์ ได้รับการสนับสนุนภายใต้อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP) มีวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาทางด้านการเงิน โดยการพัฒนาเครื่องมือในการให้ความรู้ทางการเงิน ตั้งแต่เด็กวัยเรียน คือ คอร์สการเงินสำหรับเด็ก, การ์ดเกม และบอร์ดเกมการเงิน ที่มีความสนุก เข้าใจง่าย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง ในชีวิตประจำวัน ฟินไดซ์ มีเป้าหมายสูงสุด คือ ต้องการส่งเสริมให้คนไทยมีความรู้ทางการเงิน สร้างสังคมที่น่าอยู่ ปลอดภัย ลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างยั่งยืน

ปัจจุบันบริการของ Findice Education ไม่ได้มีเฉพาะบอร์ดเกมเสริมทักษะการเงินเท่านั้น แต่ยังมีคอร์สเสริมทักษะการเงินสำหรับเด็กอายุ 10-18 ปี และกิจกรรมเสริมทักษะการเงิน อีกด้วย

นี่แหละ ความเก่งของสตาร์ทอัพไทย ขอปรบมือรัว อีกครั้ง !!!

ทิ้งท้ายไว้ว่า Findice เป็นเกมที่ทุกบ้าน ควรมี !!! เพราะทุกคน (ตั้งแต่เด็ก 10 ขวบขึ้นไป) เข้าถึงง่าย เป็นกิจกรรมสนุก คลายเครียด มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต ‘ระยะยาว’

ช่องทางการติดต่อ Findice Education: https://www.findice.biz/

บทความนี้อยู่ภายใต้โครงการ Startup Thailand Connext สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

Shopping Basket